วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลักการพัฒนากลุ่ม



 โดย  ....อาภรณี  อินสมภักษร  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

                                    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
______________________________________________ 


   การพัฒนากลุ่มอาชีพ หรือกลุ่ม อื่นๆ ให้มีความเข้มแข็ง โดยใช้หลัก 5 ก ซึ่งได้แก่


1 : กลุ่ม/สมาชิก 
ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม สมาชิกกลุ่มโดยทั่วไป มี 3 ประเภท คือ
  •  สมาชิกสามัญ
  •  สมาชิกกิตติมศักดิ์
  •  สมาชิกสมทบ

2 : กรรมการ 
ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม  จำนวน ตามความเหมาะสม ได้แก่
  • ประธาน
  • รองประธาน
  • เลขานุการ
  • เหรัญญิก
  • กรรมการฝ่าย ต่างๆ  ตามความเหมาะสม เช่นฝ่ายการผลิต  ฝ่ายการคลาด ฝ่ายผลิตภัณฑ์

3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม 
เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ ที่เป็นลายหลักอักษร และสมาชิกรับทราบ


4 : กองทุน 
ซึ่งเป็นปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ที่มาของทุนเช่น
  • ระดมทุนจากสมาชิก(ลงหุ้น)
  • ขอรับการสนับสนุน
  • เงินกู้/เงินยืม
  • เงินบริจาค

5 : กิจกรรม 
เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน กิจโดยมีการกำหนดแผนกิจกรรมต่างๆ เช่น
  • ประชุม
  • การผลิต
  • การจำหน่าย 
  • การเสริมสร้างความรู้

การให้การสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ 

  • สนับสนุนด้านวิชาการ วัสดุ อุปกรณ์ 
  • งบประมาณแก่กลุ่มอาชีพ
  • ความรู้ในด้านการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบมาตรฐานของสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าและให้ตรงตามความต้องการของตลาด
หน่วยงาน 
  • อบต/เทศบาล /อบจ./กองทุน ต่างๆ
  • กศน./เกษตร/พัฒนาชุมชน
  • อุตสาหกรรม/พานิชย์
  • สถาบันการศึกษา

องค์ความรู้การดำเนินงานโครงการ กข.คจ.

ชื่อเรื่อง  การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
ชื่อผู้ถอดบทเรียน  นางอาภรณี  อินสมภักษร  
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ      สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพนัง  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา
          โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เป็นทุนชุมชน ที่รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนให้หมู่บ้านๆ ละ 280,000 บาท เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายยืมไปประกอบอาชีพ โดยมอบอำนาจให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน บริหารจัดการเงินทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2539   และได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าว ในปัจจุบันใช้ฉบับ พ.ศ. 2553 หมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน 68 หมู่บ้าน ซึ่งในปีงบประมาณ 2557 กรมการพัฒนาชุมชน    ได้สนับสนุนงบประมาณในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.) ปี 2557โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 หมู่บ้าน และได้ดำเนินการถอดบทเรียนในการดำเนินงานจำนวน 1 หมู่บ้าน ที่มีปัญหาในการส่งคืนเงินยืมโครงการจึงหยุดการขับเคลื่อน
กระบวนการทำงาน
1. ตรวจสอบสถานะการดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ทั้งหมด  จำนวน 68 กองทุน(ตรวจสอบ
ภาวะหนี้สิน/การบริหารงานของกรรมการกองทุน) เพื่อตรวจสอบและพัฒนาฐานข้อมูลให้ถูกต้อง สามารถ
นำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนาให้เกิดความเข็มแข็ง 
2. ประชุมชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และคณะกรรมการเครือข่าย
ใน ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. ๒๕๕๓ และแนวทางการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ของกรมการพัฒนาชุมชน
3. ประชุมประธานคณะกรรมการ กข.คจ. ทุกหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. ๒๕๕๓ และแนวทางการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ของกรมการพัฒนาชุมชน และ รับทราบข้อมูลและปัญหาอุปสรรคในการบริหารกองทุน และความต้องการในการการแก้ปัญหา 
4. จัดทีมงานโดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนร่วมกับคณะกรรมการเครือข่ายกข.คจ. ลงพื้นที่ ที่มี
ความพร้อมและมีความต้องการที่จะแก้ปัญหาโดยสมัครใจ
5. ทีมงานร่วมกับผู้นำชุมชน/คณะกรรมการ กข.คจ. สมาชิก/ ครัวเรือนเป้าหมาย ค้นหาสาเหตุ
ของปัญหาและร่วมการหาแนวทางแก้ไข
6. กำหนดแผนการดำเนินการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและมีผู้รับผิดชอบชัดเจน
7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง
8. นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาทราบและหาแนวทางแก้ไขปัญหา
เทคนิควิธีการทำงาน
1. การศึกษาระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจ
2. การขอคำปรึกษาจากผู้บังคับบัญชาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
3. การสร้างความสัมพันธ์อันดีของพัฒนากรกับคณะกรรมการ/สมาชิกครัวเรือนเป้าหมาย
4. ใช้ระเบียบเป็นเครื่องมือเพื่อขอความร่วมมือ ไม่ใช่เป็นข้อบังคับ
5. ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ข้อพึงระวัง
1. การดำเนินงานในบางพื้นที่ต้องระมัดระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่นความขัดแย้งทางด้าน
การเมือง ที่มีอยู่ในพื้นที่ 
2. พัฒนากรผู้รับผิดชอบประสานงานตำบลต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ โดยติดตาม สนับสนุนการ
ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 
3. การดำเนินงานต่าง ๆ ต้องมีการบันทึกหลักฐาน สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
4. การดำเนินงานแก้ปัญหาต้องเป็นไปอย่าง
ปัจจัยความสำเร็จ
1. การสร้างความสัมพันธ์อันดีเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับประชาชนและผู้นำและคณะกรรมการใน
พื้นที่ เป้าหมาย
2. ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และจริงใจที่จะเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
3. การทำงานเป็นทีมของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในการลงไปแก้ปัญหา 
4. การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการให้
คำปรึกษา การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ  
ผลที่เกิดขึ้นในเชิงความสำเร็จ 
1. กองทุนมีความเคลื่อนไหวครัวเรือนยืมที่คงค้างทำข้องตกลงในการส่งเงินคืน
2. มีการประชุมครัวเรือนเป้าหมายกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน
3. คณะกรรมการ กข.คจ.เข้าใจบทบาทหน้าที่ตามระเบียบและแนวทางฯ มีความตั้งใจที่
จะขับเคลื่อนนกองทุนกข.คจ. ให้เป็นเงินทุนของหมู่บ้าน
ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข
1. ความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่บ้านเป้าหมาย ต้องทำความเข้าใจว่าการดำเนินงานครั้งนี้ไม่มี
ความเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือความขัดแย้งใดๆ และดำเนินการตามระเบียบฯอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ
2. คณะกรรมการ กข.คจ. ขาดความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการการแก้ปัญหา ต้องทำความเข้าใจถึงบทบาท
หน้าที่ของคณะกรรมการ และชี้ให้เห็นความสำคัญของโครงการ กข.คจ. ในการแก้ปัญหารของครัวเรือนและการพัฒนาหมู่บ้านโดยรวม
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 
1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความ
ยากจน พ.ศ. ๒๕๕๓
2. แนวทางการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. แบบประเมินสุขภาพเงินทุนโครงการ กข.คจ. เพื่อตรวจสุขภาพหมู่บ้าน กข.คจ.
4. หลักการดำเนินงานพัฒนาชุมชน        


-----------------------------------------------------------------------------------------------